ล้างบอยเลอร์ (boiler) ให้ปลอดภัย ต้องอาศัยวิธีการ ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้อย่างถูกต้อง และประสบการณ์
ก่อนจะเข้าสู้วิธีการล้างบอยเลอร์ (boiler) มาทำความรู้จัก Boiler หรือหม้อไอน้ำ กันคร่าว ๆ ก่อนว่าคือ เครื่องกำเนิดไอน้ำชนิดภาชนะปิด ทำด้วยเหล็กกล้าหรือวัสดุอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติคล้ายกัน ซึ่งได้รับการออกแบบและสร้างอย่างแข็งแรง ภายในภาชนะบรรจุน้ำและไอน้ำ บอยเลอร์นั้นยังหมายรวมถึง เครื่องกำเนิดน้ำร้อน และเครื่องกำเนิดน้ำมันร้อน ซึ่งแบ่งชนิดของบอยเลอร์ตามตัวนำความร้อน โดยปกติทั่ว ๆ ไป Steam boiler เป็นที่นิยมใช้งานบ่อย เพราะว่าไอน้ำเป็นตัวนำความร้อนที่ดีที่สุดถ่ายเทได้เร็ว แบ่งได้หลายแบบ จะใช้งานช่วงอุณหภูมิไม่สูงมากนัก ไม่เกิน 120 องศาเซลเซียส ยกเว้นว่าจะใช้งานภายใต้ความดัน (under pressure) ที่อุณหภูมิสูงกว่า Steam boiler โดยทั่วไปใช้ที่อุณหภูมิประมาณ 220 – 300 องศาเซลเซียส หากใช้เกินกว่านั้น ก็จะต้องออกแบบเครื่องให้สามารถรองรับได้เป็นพิเศษ อาจใช้ได้ถึง 350 องศาเซลเซียส
ขั้นตอนการล้างบอยเลอร์ (boiler) ด้วยสารเคมี หรือเรียกอีกชื่อว่าหม้อไอน้ำ คือการล้างทำความสะอาดคราบสกปรก ตะกรัน ที่มีผลต่อการใช้งานโดยภาพรวมของระบบ มีกระบวนการที่ไม่ได้ซับซ้อนเพียงแต่ต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญที่รับทำความสะอาด และบริการต่าง ๆ เกี่ยวกับการล้าง ดูแลและบำรุงรักษาหม้อไอน้ำ บอยเลอร์ (Boiler) ของโรงงานอุตสาหกรรมให้มีสภาพพร้อมใช้งานอยู่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีทีมงานที่คอยให้บริการการทำความสะอาดแบบมืออาชีพ สะอาด ราคาประหยัด งานเรียบร้อย ล้างด้วยสารเคมีที่มีคุณภาพ เชี่ยวชาญด้านบอยเลอร์ (Boiler) สามารถให้คำแนะนำและประเมินราคาก่อนการตัดสินใจได้ในการจัดการดีที่สุด
โดยเริ่มจากตรวจสอบความเสียหายของอุปกรณ์ต่าง ๆ เปิดฝา Manhole ออกมาเพื่อตรวจเช็คสภาพคราบตะกรัน คราบหินปูน ที่เกาะอยู่ภายในอย่างละเอียด เพื่อประมาณสารเคมีล้างให้เป็นปริมาณที่ถูกต้อง ฉีดล้างบอยเลอร์ (boiler) ปิดฝา Manhole แล้ว Circulate Boiler ด้วยสารเคมีล้างที่ได้มาตรฐาน ระยะเวลาการทำความสะอาดขึ้นอยู่กับปริมาณตะกรัน หรือคราบสิ่งสกปรกที่เกาะอยู่ รวมไปถึงอายุการใช้งานของบอยเลอร์ เจือจางสารเคมีด้วยน้ำก่อนปล่อยทิ้ง โดยสารที่ใช้เจือจางจะทำหน้าที่ปรับสภาพน้ำด้วยด่าง ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่าทุกซอกทุกมุม
ฉีดล้างบอยเลอร์ (boiler) อีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นเปิด Manhole ตัวล่างเพื่อล้างตะกรันหรือโคลนสิ่งสกปรกออกโดยทำซ้ำเช่นเดิม จนกว่าจะมั่นใจว่าล้างบอยเลอร์ (boiler) จนสะอาด ปิด Manhole ตัวล่าง เติมน้ำเข้าไปในบอยเลอร์ (Boiler) ให้เต็ม เปิดเครื่องปั๊มน้ำเป็น Automatic ถ่ายน้ำที่อยู่ภายในบอยเลอร์ (Boiler) ทิ้งออกให้หมด ล้างบอยเลอร์ (boiler) ด้วยน้ำอีกครั้ง เติมน้ำในบอยเลอร์ (Boiler) พร้อมเติมสารเคมีพิเศษเพื่อเคลือบผิวท่อช่วยยืดอายุการใช้งาน ปิดฝา Manhole บน ตรวจเช็คความเรียบร้อย ทดสอบแรงดันด้วยการอัดน้ำเข้าไปในท่อ เทสการทำงานครั้งสุดท้าย เปิดเครื่องอุ่นสารเคมี เดินหัวพ่นไฟ ตรวจเช็คอุปกรณ์ต่าง ๆ อีกครั้ง เพื่อให้พร้อมใช้งานโดยไม่เกิดปัญหาใด ๆ เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการล้างบอยเลอร์ (boiler)