ประเภทของบอยเลอร์ ที่ใช้กับโรงงานอุตสาหกรรม
อย่างที่รู้กันดีว่า ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างก็นำบอยเลอร์เข้ามาใช้กันทั้งนั้น เพื่อลดค่าพลังงานและต้นทุนการผลิต ซึ่งจะถูกกว่าการใช้ไฟฟ้ามาก โดยบอยเลอร์ แบบที่นิยมนำมาใช้กันมากที่สุดในกระบวนการผลิตก็คือ แบบเครื่องกำเนิดไอน้ำ เพราะไอน้ำสามารถสะสมความร้อนได้มาก และค่าใช้จ่ายในการใช้งานต่ำกว่าแบบอื่น ๆ ซึ่งมีหลักการทำงานคือ ใช้เชื้อเพลิงในการเผาไหม้ให้เกิดความร้อน เพื่อทำให้น้ำเดือดกลายเป็นไอน้ำ ส่งไปตามท่อเพื่อไปยังอุปกรณ์ที่ใช้ความร้อน
โดยอุปกรณ์นั้นมี 2 แบบคือ
- แบบใช้โดยตรง มีหลักการทำงานคือ ไอน้ำจะถูกพ่นผสมกับสารที่มารับความร้อนโดยตรง
- แบบผ่านอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน มีหลักการทำงานคือ ไอน้ำจะไม่สัมผัสกับสารที่มารับความร้อน ดังนั้นหลังจากถ่ายเทความร้อนแล้ว ไอน้ำจะควบแน่นกลายเป็นน้ำ เรียกว่า คอนเดทเสท จากนั้นกับดักไอน้ำจะทำหน้าที่แยกคอนเดทเสทออกมา แล้วส่งกลับไปผลิตเป็นไอน้ำอีกครั้งที่หม้อกำเนิดไอน้ำ
ประเภทของบอยเลอร์ แบบเครื่องกำเนิดไอน้ำ ที่ใช้งานทั่วไป คือ
- แบบท่อน้ำ มีหลักการทำงานดังนี้ น้ำจะอยู่ในท่อ ส่วนก๊าซที่ได้จากการเผาไหม้จะอยู่รอบ ๆ ท่อ ทำให้ผลิตไอน้ำได้ที่ความดันสูงเกินกว่า 20 บาร์
- แบบท่อไฟ มีหลักการทำงานดังนี้ ก๊าซร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้จะอยู่ในท่อ ส่วนน้ำจะอยู่นอกท่อ เหมาะกับการผลิตไอน้ำที่ใช้ความดันไม่สูงนักและหม้อไอน้ำมีขนาดไม่ใหญ่ ซึ่งแบบนี้จะใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมทั่ว ๆ ไป
เชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับบอยเลอร์ มีทั้ง เชื้อเพลิงแข็ง และเชื้อเพลิงเหลว โดยนำเชื้อเพลิงดังกล่าวมาเผาไหม้ให้เกิดก๊าซอุณภูมิสูง แล้วถ่ายเทความร้อนให้กับน้ำของหม้อไอน้ำ ซึ่งพลังงานความร้อนจากเชื้อเพลิง 100 ส่วน จะให้ความร้อนกับน้ำได้เพียง 70 – 80% เท่านั้น พลังงานส่วนที่เหลือจะสูญเสียไปกับก๊าซร้อนที่ปล่อยทิ้งไปทางปล่อง จึงได้มีแนวทางการปรับปรุงการผลิตและการใช้ไอน้ำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นดังต่อไปนี้
- แนวทางปรับปรุงให้การเผาไหม้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- แนวทางลดการสูญเสียความร้อนทางปล่องไอเสีย
- แนวทางลดการสูญเสียความร้อนจากน้ำระบาย
- แนวทางลดการสูญเสียความร้อนผ่านพื้นผิว
- แนวทางการนำคอนเดทเสทกลับมาใช้
- แนวทางการจัดการ การใช้ไอน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ทั้งนี้ การเลือกใช้ บอยเลอร์ ให้เหมาะสมกับลักษณะงานของคุณจำเป็นจะต้องมีข้อมูลที่มากพอ เพื่อประกอบการตัดสินใจ และลดค่าใช้จ่ายที่เกินความจำเป็น รวมถึงความปลอดภัยและการบำรุงรักษา ที่ไม่ยุ่งยาก หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์สำหรับเจ้าของโรงงาน คนทำงาน รวมถึงผู้สนใจทั่ว ๆ ไปได้อย่างดี