ดูแลรักษา บอยเลอร์ อย่างถูกวิธี เพื่อประสิทธิภาพที่ดีในอุตสาหกรรม

 In บอยเลอร์

บอยเลอร์ หรือ เครื่องกำเนิดไอน้ำ ชนิดภาชนะปิด ที่ใช้สร้างพลังงานความร้อนและก่อให้เกิดไอน้ำเพื่อส่งผ่านไปยังเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม  โดยส่วนใหญ่แล้ววัสดุที่ใช้ในการผลิตนั้น ทำด้วยเหล็กกล้าหรือวัสดุที่มีความแข็งแรงและทนทานต่อความดันและความร้อนสูง บอยเลอร์ นั้นแบ่งออกได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับลักษณะของตัวนำความร้อน โดย hot water boiler เหมาะสำหรับการใช้งานในช่วงอุณหภูมิที่ไม่เกิน 120 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ไม่สูงมาก แต่หากต้องการใช้งานภายใต้ความดันหรือที่อุณหภูมิสูงกว่า  Steam boiler  ที่โดยทั่วไปอาจใช้งานอยู่ที่ราว 220 – 300 องศาเซลเซียส หรือหากประเภทของงานมีลักษณะที่ต้องการใช้งานความร้อนที่สูงกว่านั้น ก็อาจจะต้องออกแบบหรือเลือกใช้ บอยเลอร์ ให้สามารถรองรับความดันและความร้อนได้เพียงพอ โดยอาจจะรองรับอุณหภูมิได้สูงถึง 350 องศาเซลเซียส เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งาน และลดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นจากอันตรายจากการระเบิด

ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญเมื่อมีการใช้งาน บอยเลอร์ เป็นระยะเวลานานหลายปี ปัญหาที่พบ คือ การเจือปนจากสารเคมีจำพวก แคลเซียม แมกนีเซียม ที่ปะปนมากับน้ำที่ใช้  ซึ่งเป็นสาเหตุหลัก ในการทำให้เกิดการก่อตัวของตะกรัน หรือ หินปูนที่ตกผลึกสะสมและเกาะตัวเป็นชั้นหนาอยู่ภายใน ยิ่งหากคุณภาพน้ำที่นำมาใช้ต้มใน บอยเลอร์ มีสารเจือปนจำพวกแคลเซียม หรือหินปูนที่มีความเข้นข้นอยู่มาก ยิ่งส่งผลให้เกิดตะกรันสะสมมาก ซึ่งหากไม่ดูแลรักษา ป้องกัน หรือทำความสะอาด บอยเลอร์ อย่างถูกวิธี ก็จะทำให้ บอยเลอร์ เกิดความเสียหาย ไม่สามารถใช้งานได้ หรือมีอายุการใช้งานที่สั้นลง รวมถึงอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรมที่มาจากการระเบิดของ บอยเลอร์ ซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่พบได้บ่อยในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายถึงชีวิตและสร้างความเสียหายให้กับในหลายโรงงาน เพราะการดูแลรักษา ซ่อมบำรุงหรือ ทำความสะอาดไม่ถูกวิธี

สำหรับการดูแลรักษา บอยเลอร์ ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานนั้น สิ่งสำคัญคือการทำความสะอาดหรือการ ฉีดล้างบอยเลอร์ ด้วยสารเคมี ที่มีคุณสมบัติล้างคราบตะกรันหรือสิ่งสกปรกที่สะสมอยู่ภายใน ซึ่งวิธีการในการทำความสะอาดหรือล้างบอยเลอร์นั้น ไม่ได้มีความซับซ้อนยุ่งยากมากนัก แต่หากไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ในการทำความสะอาด รวมถึงการเลือกใช้สารเคมี หรือปริมาณของสารเคมีที่ใช้ในการล้างไม่เหมาะสม ก็อาจจะทำให้การทำความสะอาด หรือการฉีดล้าง บอยเลอร์ ไม่ทั่วถึงหรือตะกรันที่เกาะตัวอยู่อาจไม่หมดไป ทำให้การทำความสะอาดไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

Recommended Posts

Leave a Comment